วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การสรุปผลและเผยแพร่ผลงาน

 การสรุปผลและเผยแพร่ผลงาน

หลังจากการพัฒนาโครงงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้พัฒนาควรเขียนรายงานโครงงานและเผยแพร่ผลงาน ซึ้งมีรูปแบบหัวข้อที่สำคัญดังนี้


อ่านเพิ่มเติม


การดำเนินงาน

 การดำเนินงาน

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้


อ่านเพิ่มเติม


การวางแผนและออกแบบโครงงาน

 การวางแผนและออกแบบโครงงาน

หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และแนวทางในการพัฒนาแล้ว ควรวางแผนการพัฒนาโครงงาน ตามขั้นตอนต่างๆ ให้รอบคอบ รัดกุมอ่านเพิ่มเติม



วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

 การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้


อ่านเพิ่มเติม

การกำหนดปัญหา

 การกำหนดปัญหา

ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้


อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล

 การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล


ความสำคัญของการจัดเรียงข้อมูล 
การจัดเรียงข้อมูล เป็นการจัดการข้อมูลที่กระทำกันมากในงานประยุกต์ต่างๆ  เช่น การทำข้อมูลนักศึกษามาจัดเลียงลำดับรหัสนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการพิมพ์ใบเซ็นชื่อเข้าสอบหรือการเรียงข้อมูลพนักงานตามรหัสพนักงานเพื่อใช้งการพิมพ์สลิปเงินเดือน เป็นต้น

การทำซ้ำ

 การทำซ้ำ

การทำงานแบบทำซ้ำ

ลักษณะของขั้นตอนวิธีการทำงาน นอกจากขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับแลละขั้นตอนวิธีแบบเลือกทำแล้ว ยังมีลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีอีกลักษณะหนึ่ง คือ ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำใช้สำหรับกรณีที่ต้องการทำกระบวนการต่าง ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง โดยมีการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการตัดสินใจ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนของการทำซ้ำ หรือออกจากขั้นตอนของการทำซ้ำ การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ ได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ

วิธีการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานและรหัสเทียมสำหรับโครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำ มีวิธีการเขียนต่างไปจากการทำงานแบบลำดับและแบบเลือกทำ แต่บางครั้งการทำงานของขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ อาจประกอบด้วยขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับหรือขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำร่วมอยู่ในขั้นตอนวิธีการทำงาน ดังนั้นการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ จะใช้การเขียนอธิบายขั้นตอน สำหรับขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะนั้น


การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ

ลักษณะของการทำงานแบบทำซ้ำ มีลักษณะการทำงานอยู่ 2 ลักษณะคือ

1. ทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนการทำซ้ำหรือ ทำในขณะที่ ( Do – While )

2. ทำการตรวจสอบเงื่อนไขหลังจากการทำซ้ำหรือทำจนกระทั่ง ( Do – Until )

โครงสร้างผังงานการทำซ้ำมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ทำซ้ำในขณะที่ และ ทำซ้ำจนกระทั่ง ลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำทั้ง 2 มีการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานและรหัสเทียมสำหรับการทำซ้ำในแต่ละลักษณะ จึงมีความแตกต่างกัน


การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่

การเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่ ใช้ข้อความสำหรับการอธิบาย คือ “ในขณะที่” หรือ “ตราบใดที่” จากนั้นตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการทำซ้ำ ตามด้วยคำอธิบาย “ทำ” หลังจากนั้นคือ ขั้นตอนวิธีการทำงานทั้งหมดที่ต้องการทำซ้ำ ถ้าผลจากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง

จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่


อ่านเพิ่มเติม